วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

เลือกตั้งสหรัฐฯ ไม่ว่าใครเป็นผู้นำ พญาอินทรีย์ตัวนี้ก็ยังคงมีท่าบินเหมือนเดิม..ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ สรุปแล้วว่าบารัค โอบามาจะยังคงครองตำแหน่งผู้นำประเทศได้อีกเป็นสมัยที่ 2 แต่การชิงชัยเก้าอี้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนครั้งแรกนัก เพราะคะแนนโหวตที่ให้กับมิตต์ รอมนีย์หลั่งไหลเข้ามาอย่างท่วมท้น เล่นเอาทั้งผู้นำเดโมแครตและแฟนคลับโอบามาต้องลุ้นคะแนนโหวตแบบหืดขึ้นคอ ขณะที่มิตต์ รอมนีย์เอง ดูฟอร์มแล้วไม่น่าจะมาไกลถึงขนาดที่มีคะแนนสูสีขนาดนี้ แต่วันนี้ เราต้องยอมรับว่า เขาทำได้แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะนโยบายเศรษฐกิจที่มีความเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ชาวอเมริกันมากกว่า!
เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ภาพจาก Barack Obama
เป็นไปได้ว่าคะแนนที่หดหายของโอบามาในสมัยแรก และการเบียดขับ เข่นเคี่ยวกันจนคะแนนโหวตของรอมนีย์ที่ขึ้นมาได้ขนาดนี้ สืบเนื่องจากการจ่อมจมอยู่กับปัญหาการเมืองระหว่างประเทศและปัญหาความมั่นคงที่รุกไล่ทีมของผู้นำบารัค โอบามาเสมือนหนึ่งเล่นเกมงูกินหาง ไหนจะต้องตามล่าสังหารอุซมาห์ บินลาเดน ตัวการสำคัญที่เป็นผู้ท้าทายอำนาจสหรัฐฯ ตัวฉกาจ และเป็นสิ่งที่เขาให้คำมั่นไว้ในสมัยแรก
ตลอดจนการไล่ต้อนกลุ่มผู้นำในประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนืออย่างไม่หยุดยั้ง เพราะกระแสอาหรับสปริงที่ทำให้เขาเชื่อว่ามวลชนในโลกอาหรับต้อนรับกระแสประชาธิปไตยอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ไหนเลยประเทศต้นแบบแห่งประชาธิปไตยจะอยู่เฉย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐฯ ผู้เป็นเสมือนตำรวจโลกมาเนิ่นนาน จะปล่อยผ่านเรื่องนี้ไม่ได้
อีกด้านหนึ่ง คือการรับมือกับจีน สหรัฐฯ จะยังคงเดินเกมปิดล้อมจีนต่อไป โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ที่แม้รอมนีย์จะประกาศกร้าวเสมือนว่าจีนเป็นศัตรู แต่โอบามาเห็นว่าจีนคือคู่แข่ง และเป็นคู่แข่งที่สำคัญจนต้องใช้การทูตผูกมิตรชาติในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผูกสัมพันธ์กับประเทศที่เห็นจีนเป็นศัตรู และการแสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือชาติในเอเชียที่มีความขัดแย้งระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเห็นด้วยกับท่าทีของญี่ปุ่น กรณีความขัดแย้งหมู่เกาะเตี้ยวหยูวหรือหมู่เกาะเซนกากุ หรือกรณีหมู่เกาะทาเคชิม่าหรือหมู่เกาะต็อกโตที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้บาดหมางกัน
รวมถึงอีกกรณีที่มีนัยสำคัญต่อจุดยืนและท่าทีของอาเซียน คงเป็นประเด็นใดไม่ได้ถ้าไม่ใช่กรณีของหมู่เกาะทะเลจีนใต้ ที่สหรัฐฯ โดดเข้ามาสนับสนุนทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ ฯลฯ อย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะด้วยการกล่าวถ้อยแถลงที่สนับสนุนการทูตพหุภาคีในอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหา หรือการแสดงท่าทีแข็งขืน ไม่เห็นด้วยกับจีนที่จะดีลปัญหาด้วยการทูตทวิภาคีแบบรัฐต่อรัฐ
เดโมแครต เลือกตั้งสหรัฐ บารัค โอบามา ภาพจาก Democrats
ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อปัจจจัยภายนอกประเทศ แต่ช่วยรักษาภาพลักษณ์อันทรงอำนาจของสหรัฐอเมริกาที่ยากจะมีใครลูบคม แต่ปัจจัยภายในที่โอบามาเฝ้าจ่อมจมอยู่กับการแก้ไขปัญหา คงหนีไม่พ้นเรื่องประกันสุขภาพและการรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่เป็นฐานเสียงหลัก มากกว่าจะมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
การพยายามแก้ปัญหาด้านนี้อย่างเห็นได้ชัดจากโอบามาฯ น่าจะเป็นเรื่องผูกมิตรกับต่างประเทศและกดดันให้ซื้อสินค้าส่งออกจากสหรัฐฯ ตลอดจนการดำเนินนโยบายอุ้มกลุ่มทุน อุตสาหกรรมรถยนต์ ธนาคาร เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐให้ดำเนินต่อไป แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดปรากฎการณ์ยึดครองวอลล์สตรีท หรือ Occupy Wall Street ด้วย และแน่นอนว่าโวหารของเขายังคงครองใจประชาชนเช่นเดิม แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมา ทำให้เห็นว่าเขายังพูดมากกว่าทำในด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ติดหล่มปลักของสหรัฐฯ กำลังค่อยๆ เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างช้าๆ โดยภาพรวมของประเทศเอง ที่ค่อยๆ เป็นไป มากกว่าจะขับเคลื่อนหรือแก้ปัญหาได้ด้วยผู้นำประเทศ แน่นอนว่า หากสมัยหน้าเขาจะยังต้องการให้เก้าอี้ผู้นำประเทศเป็นของเดโมแครตอยู่ ทีมรัฐบาลจะต้องทุ่มเททุกสรรพกำลังเพื่อเร่งฟื้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่มากกว่าการหมกมุ่นกับการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงอย่างที่เคยเป็นมา

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย

๑.๒  วิวัฒนาการการปกครองของไทย


                ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์แต่เพียงประองค์เดียว ทรงใช้อำนาจทั้งในด้านนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  อำนาจตุลาการ  และทรงแต่งตั้งข้าราชการ  ขุนนางไปปกครองหัวเมืองต่างๆในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น  ทรงอยู่เหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมายใดๆ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมาย ทรงตัดสินและพิจารณาอรรถคดี  ทรงบริหารประเทศ  ดังนั้นประชาชนจึงต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ  ใครผ่าผืนไม่ได้  พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดและประชาชนต้องปฏิบัติตาม ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีรูปแบบ   การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๔  สมัย ดังนี้ คือ

๑.๒.๑  สมัยอาณาจักรสุโขทัย  (พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๑)

๑.๒.๒  สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐)

๑.๒.๓  สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและ  สมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น  (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕)

๑.๒.๔  สมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ในสมัยรัชกาลที่  ๕  และการเปลี่ยนแปลง

การปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในที่นี้จะอธิบายวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยโดยสรุป คือ

            ๑.๒.๑   สมัยอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๐๐-๑๙๒๑)

                ประวัติอาณาจักสุโขทัยพอสังเขป ก่อนที่จะตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้นดินแดนบริเวณ           ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยายังอยู่ในอำนาจของกษัตริย์ขอมซึ่งแผ่อำนาจมาถึงละโว้(ลพบุรี)และลำพูน        แต่ต่อมาเกิดกบฏหลายแห่งทำให้ละโว้ได้เป็นเอกราชระยะหนึ่ง ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗             ( พ.ศ. ๑๗๒๔-๑๗๖๑) ตีเมืองต่างๆ คืนรวมทั้งสุโขทัย แต่ก็ทรงยกธิดาพร้อมทั้งพระขรรค์ชัยศรี    แก่พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด โอรสพ่อขุนศรีนาวนำถมผู้ครองอาณาจักรเชลียง ( ปัจจุบันคืออำเภอสวรรคโลกในจังหวัดสุโขทัย) พร้อมทั้งตั้งให้เป็นใหญ่มีนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”           และจากนั้นพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกับพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางหาวเข้าตีเมืองต่างๆรอบสุโขทัยได้แล้วจึงเข้าตีเมืองสุโขทัย ซึ่งมีผู้ปกครองชื่อขอมสบาดโขลญลำพง เมื่อราวปีพ.ศ. ๑๗๘๑-๑๗๙๒  เมื่อได้รับชัยชนะจากขอมสบาดโขลญลำพง และได้สุโขทัยแล้วจากนั้นเหล่าขุนนางก็อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” เมื่อแรกตั้งสุโขทัยเป็นอาณาเขตนั้น สุโขทัยยังคับแคบมีพื้นที่เพียงเมืองเชลียง เมืองแพร่ ทางใต้คงลงมาถึงเมืองพระบางที่ปากน้ำโพ ทางตะวันตกเฉียงเหนือเพียงเมืองตาก ในช่วงเวลานั้น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดไม่ยอมอยู่ในอำนาจจึงยกทัพมาตีเมืองตาก กองทัพพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  เสียท่า แต่พระโอรสองค์น้อยเข้าชนช้างชนะขุนสามชน พวกเมืองฉอดจึงแตกพ่ายไป ต่อมาพ่อขุนบานเมืองเสวยราชย์ต่อจากพระบิดาจนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๒ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองราชย์ต่อมาจนถึง ปีพ.ศ. ๑๘๔๑    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ดังปรากฏใน      ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่าทางทิศตะวันออกได้เมืองสระหลวง สองแคว(พิษณุโลก) ถึงฝั่งโขง เวียงจันทน์ และเวียงคำ ทิศใต้ ได้เมืองคณฑี(กำแพงเพชร) พระบาง(นครสวรรค์) แพรก(ชัยนาท) สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราชจนสุดฝั่งทะเล ทิศตะวันตกได้เมืองฉอด หงสาวดี      ถึงฝั่งมหาสมุทร ทิศเหนือได้เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลั่ว(ปัว)เลยฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา          (หลวงพระบาง) ต่อมากรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลงในสมัยพระยาเลอไทย พระยาลิไทย เคยปรากฏว่าต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอยู่สิบปี ระหว่างพ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๓๑ แต่ในช่วงรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (พระยาไสยลือไทย) กลับเข้มแข็งขึ้นแต่เมื่อทรงสวรรคตก็เกิดการชิงราชสมบัติ สมเด็จพระนครินทรธิราชต้องขึ้นไปห้ามปรามและตั้งพญาบรมปาลเป็นเจ้าเมืองขึ้นต่ออยุธยาจนสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ จึงสิ้นราชวงศ์พระร่วง

ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือราชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมือง    เรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และ ทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและตัดสินคดีความต่างๆ ทุกวันธรรมะสาวนะด้วยพระองค์เอง เรียกอำนาจนี้ว่าอำนาจตุลาการ จะเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้เพียงพระองค์เดียว และทรงใช้อำนาจบนพื้นฐานของหลักธรรม ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะการปกครองโดยใช้คตินิยมในการปกครองแบบครอบครัวหรือพ่อปกครองลูก มาเป็นหลักในการบริหารประเทศ คติการปกครอง สมัยอาณาจักรสุโขทัยเรียกว่าการปกครองแบบพ่อปกครองลูก หรือการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรโดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก ประชาชนต่างก็เรียกพระมหากษัตริย์ที่ใกล้ชิดประชาชนว่า “พ่อขุน” รูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเด่นที่สำคัญๆ  ดังต่อไปนี้

๑.   พ่อขุนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยมีรูปแบบปกครองประชาชนบนพื้นฐานของความรัก  ความเมตตาประดุจบิดาพึงมีต่อบุตร  บางตำราอธิบายว่าเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกหรือแบบปิตุราชาประชาธิปไตย

๒.    พ่อขุนอยู่ในฐานะผู้ปกครองและประมุขของประเทศที่มีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว

  หรืออำนาจอธิปไตยอยู่ที่พ่อขุน

๓.     ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตพอสมควร ดังจะเห็นได้จากศิลา

จารึกอธิบายว่า “......ใครใคร่ค้า  ค้า  เอาม้ามาค้าเอาข้าวมาขาย....” จากหลักศิลาจารึกจะทำให้เห็นว่าอาณาจักรสุโขทัยให้โอกาสประชาชนในการดำเนินชีวิตพอควร  อาจกล่าวได้ว่าผู้ปกครองและผู้อยู่ภายใต้การปกครองมีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน  นอกจากให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจแล้วยังไม่เก็บภาษีด้วย “เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบ ในไพร่ลู่ทาง...”

๔.     รูปแบบการปกครองเป็นไปแบบเรียบง่ายไม่มีพิธีอะไรมากมายนัก อยู่แบบเรียบง่าย

ไม่มีสถาบันการเมืองการปกครองที่สลับซับซ้อนมาก และรูปแบบการเมืองการปกครองเป็นไปแบบให้บริการมากกว่าการสั่งการ  การควบคุมหรือการใช้อำนาจเป็นไปอย่างเหมาะสม

๕.     ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง  คือ   พ่อขุนและผู้อยู่ใต้การปกครองคือประชาชน

เป็นไปอย่างแน่นเฟ้น  ไม่มีพิธีรีตองมากนักเหมือนบุคคลในครอบครัวเดียวกัน

๖.      ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองอยู่ในฐานะที่

เท่าเทียมกัน  ต่างก็อยู่ในฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน  แต่ทำหน้าที่ที่ต่างกันเท่านั้น

                ๗.  มีการพิจารณาคดีโดยใช้หลักประกันความยุติธรรม เช่นเมื่อพลเมืองผิดใจเป็นความกันจะมีการสอบสวนจนแน่ชัดจึงตัดสินโดยยุติธรรม ในศิลาจารึกเขียนไว้ว่า “ลูกเจ้าลูกขุนแลผิดแผกแสกกว้างกัน สวนดูแท้แลจึ่งแล่งความแก่ข้าด้วย ซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน....”

                ๘.  ทรงปกครองบ้านเมืองแบบเปิดเผยบนพระแท่นในวันธรรมดา ส่วนวันพระหรือวันโกนก็ทรงจัดให้พระมาเทศน์  เช่น “...ผิใช่วันสูดธรรม  พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือขนาดหินให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองคัล”

                นอกจากพ่อขุน จะทรงวางรากฐานทางการปกครองแล้วในสมัยสุโขทัยยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้ภาษา รู้ธรรมและในบางสมัยกษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัย      ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์แบบธรรมราชา  การปกครองจึงมีรูปแบบธรรมราชาด้วย เช่น หลังจากที่      พ่อขุนรามคำแหงได้นครศรีธรรมราชไว้ในอำนาจก็ได้มีการนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่มากขึ้นและเป็นผลให้แนวความคิดในการปกครองเปลี่ยนจากปิตุราชาธิปไตย มาเป็นแบบธรรมราชาธิปไตย[1]  โดยพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๙๐ ก็เริ่มใช้พระนามว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ถึงที่ ๔ อันเป็นสมัยที่ขึ้นแก่อยุธยาและจบราชวงศ์พระร่วงเมื่อพ.ศ.๑๙๘๑

                หลักการของระบอบธรรมราชาธิปไตย คือ  ความเชื่อที่ว่าพระราชอำนาจของกษัตริย์จะ  ต้องถูกกำกับด้วยหลักธรรมะ ประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์    จึงเรียกว่า สวรรคต ธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตรคือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ             และจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ และมีหลักการปกครองปรากฏในไตรภูมิพระร่วงที่พระมหาจักรพรรดิราชจะใช้สั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลายให้ปฏิบัติตามอีกมาก  เป็นที่น่าสังเกตว่าการปกครองแบบธรรมราชาธิปไตยน่าจะทำให้ประเทศชาติมั่นคงกว่า   ราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่การไม่พยายามออกไปสู้รบและแผ่ขยายอาณาเขตหรือไม่บำรุงกำลังรบให้เข้มแข็งเพื่อป้องกันประเทศอาจทำให้อ่อนแอลง ดังปรากฏในปลายราชวงศ์พระร่วงหรืออย่างสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ์และพระเจ้าอุทุมพรแห่งอยุธยา หรือประเทศธิเบต  ที่ถือนิกายวัชรญาณเคร่งครัด แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างละเอียดอาจพบว่าเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ใช้หลักธรรมอย่างครบถ้วนและเหล่าลูกหลานขุนนางแย่งชิงราชสมบัติฆ่าฟันกันเองจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศอ่อนแอ

การจัดระเบียบการปกครองในสมัยสุโขทัย


                ในสมัยสมเด็จพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงจัดระเบียบการปกครองอาณาจักรกรุงสุโขทัยโดยแบ่งลักษณะอาณาจักรหรือเมืองออกเป็นชั้นๆ โดยถืออาณาจักรกรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลางและได้แบ่งการปกครองออกเป็น  ๔  ชั้นดังนี้คือ

ชั้นที่ ๑ ได้แก่ เมืองหลวงหรือราชธานี  หมายถึงอาณาจักรสุโขทัย  เป็นศูนย์กลางในการปกครองประเทศมีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมออกไปถึงเมืองอุปราชและเมืองลูกหลวงหรือเมือง   หน้าด่าน อำนาจการสั่งการทั้งหมดอยู่ที่อาณาจักรสุโขทัย

ชั้นที่ ๒ ได้แก่เมืองอุปราชหรือเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านหมายถึง เมืองที่ตั้งอยู่รายรอบสี่ทิศรอบๆ อาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งเมืองหน้าด่านแต่ละเมืองมีระยะห่างจากเมืองหลวง โดยใช้ประมาณจากการเดินทางโดยทางเท้าใช้เวลาไม่เกินสองวัน  เมืองหน้าด่านหรือเมืองอุปราชเป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกหัดให้เชื้อพระวงศ์ที่มีความสามารถ  มีความชำนาญในการปกครองบ้านเมือง และเมืองอุปราชก็ใช้ในแง่ของเมืองยุทธศาสตร์โดยใช้เป็นเมืองหน้าด่านของเมืองหลวงหรือราชธานีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมืองสองแคว (  ปัจจุบันคือจังหวัดพิษณุโลก ) อยู่ทิศตะวันออก เมืองศรีสัชนาลัย อยู่ทางเหนือของเมืองสุโขทัย  เมืองพระหลวง  ( ปัจจุบันคือจังหวัดพิจิตร) อยู่ทางใต้และเมือง       ชากังราว ( ปัจจุบันคือเมืองกำแพงเพชร  )อยู่ทางทิศตะวันตก  เป็นต้น

ชั้นที่ ๓ ได้แก่ เมืองพระยามหานคร หมายถึงเมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่ห่างราชธานีออกไปและมีประชาชนในเมืองเป็นคนไทยพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้ง ให้เจ้านายหรือเชื้อพระวงศ์             หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง เมืองพระยามหานคร จัดว่าเป็นหัวเมืองชั้นนอก เช่น อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ เป็นต้น

                เมืองพระยามหานคร[2]เป็นเมืองชั้นนอกเป็นเมืองที่อยู่ไกลราชธานี เมืองพระยามหานครปกครองโดยเจ้าเมืองซึ่งมักสืบเชื้อสายกัน ความสำคัญของเมืองพระยามหานครอยู่ที่เป็นเมืองกันชน โดยเฉพาะเมืองเอก เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นด่านกั้นข้าศึก

ชั้นที่ ๔ ได้แก่ เมืองประเทศราชหรือเมืองออกหรือเมืองขึ้นหมายถึง ประเทศที่ยอม        อ่อนน้อมต่ออาณาจักรกรุงสุโขทัยเป็นเมืองที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารโดยการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองมาให้ รวมไปถึงถวายเครื่องราชบรรณาการเป็นประจำทุกปีหรืออาจทุกสามปี      โดยเมืองเหล่านี้ยังปกครองกันเอง ให้เจ้าเมืองหรือราชวงศ์ของเมืองนั้นๆทำการปกครองกันเอง     แต่ในยามที่มีศึกสงครามเมืองประเทศราชหรือเมืองขึ้นก็ต้องส่งกองทัพมาช่วย หรืออาจส่งเสบียง อาหาร  เครื่องยุทธ์และปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นแก่อาณาจักรกรุงสุโขทัย สำหรับเมืองประเทศราชของอาณาจักรกรุงสุโขทัยได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองทวาย เมืองเวียงจันทน์  น่าน หลวงพระบาง มะละกา   ยะโฮ ทะวาย เมาะตะมะ และหงสาวดี เป็นต้น

                อำนาจการเมืองการปกครองของอาณาจักกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่การสามารถปกครองหน่วย  การปกครองทั้งสามส่วน ซึ่งจุดทุกจุดจะพุ่งกลับไปสู่ระบบการเมืองแบบรวมศูนย์ที่เมืองหลวงและสถาบันพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาลกลางและเพื่อเป็นฐานสำคัญของอำนาจทางการเมือง นอกจากนี้อยุธยายังมีการจัดระบบเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับการปกครองและระบบการเมือง[3]

                การปกครองสมัยสุโขทัยก่อให้เกิดการพัฒนาระบบแนวคิดทางการเมือง  ดังนี้ คือ

๑.   การปกครองแบบบิดาปกครองบุตร  ทำให้ผู้ปกครองกับผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  ปัญหาต่างๆ จึงไม่ค่อยมีในแง่ของการบริหารการปกครอง            เมื่อประชาชนเดือดร้องก็สามารถแก้ปัญหาและให้ความยุติธรรมได้

๒.    เป็นการวางรากฐานเรื่องสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชน ในสมัยนั้นและต่อๆมา

๓.        พ่อขุนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรม  ช่วยประชาชนทุกคนโดยเสมอกันแก้ปัญหาพื้นฐานของประชาชนได้  ก่อให้เกิดความสามัคคีภายในประเทศ  วิถีชีวิตของประชาชนอยู่อย่างเป็นสุขดังคำกล่าวที่ว่า  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว ใครจะประกอบอาชีพใดก็สุด  แก่ความสามารถของตนเองต้องการ เท่ากับมีการประกันความเสมอภาคโดยทั่ว บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข พ่อขุนตั้งมั่นอยู่ในธรรมะ การปกครองยึดหลักศาสนาในการปกครอง

                การปกครองในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีจุดเด่นที่ควรเป็นข้อคิดคือ[4]

                ๑.  รูปแบบการปกครองแบบพ่อลูกหรือพ่อขุน ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นของไทยแท้ดั้งเดิม แต่ก็ไม่พบหมายความว่าไม่มีในสังคมอื่นความคิดเห็นทำนองเดียวกันนี้เป็นรูปแบบที่ยังมีการกล่าวถึงในปัจจุบัน

                ๒.  ลัทธิธรรมราชาหรือกษัตริย์เป็นเสมือนพระพุทธเจ้าซึ่งบ่งชี้ถึงการใช้ธรรมและเมตตาธรรมเป็นฐาน

                ๓.  มโนทัศน์เรื่องสวรรค์นรกซึ่งทำน้าที่เป็นอุดมการณ์เพื่อการจัดระเบียบสังคมและการปกครองบริหาร

                ๔.  เสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะในสามรัชกาลต้น เช่น ความอิสระในการค้าและกิจการอื่น

                ๕.  ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง โดยเฉพาะใน ๓   รัชกาลต้น

                ๖.  ความเจริญในด้านอุสาหกรรมชามสังคโลก

                ๗. การประดิษฐ์อักษรไทยโดยพ่อขุนรามคำแหงทำให้มีสื่อกลางของการสื่อความหมายและบันทึกเหตุการณ์และวรรณคดี

                ๘.  การขยายอาณาเขตโดยการใช้ความสัมพันธ์ทางการแต่งงาน

                ๙.  การติดต่อกับจีนและการได้ช่างทำชามสังคโลกมาช่วยปรับปรุงการทำชามสังคโลกซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ

                ๑๐.  การนิมนต์พระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชและจากลังกา เพื่อสืบทอดศาสนาพุทธ

                อาจกล่าวได้ว่าการปกครองในช่วงของอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกโดยแท้จริง

๑.๒.๒  สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.  ๑๘๙๓-๒๓๑๐) 

ประวัติอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาพอสังเขป กรุงศรีอยุธยายังไม่มีข้อยุติว่า   พระเจ้าอู่ทองเป็นเจ้านายสายใด บางตำราเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นเชื้อสายพระเจ้าชัยสิริแห่งเมืองชัยปราการ(จังหวัดเชียงราย) ซึ่งอพยพหนีทัพมอญลงมาทางภาคกลางมีลูกหลานไปครองเมืองต่างๆ ในบริเวณอโยธยา ลพบุรี อู่ทอง สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าสิริชัย แห่งนครศรีธรรมราช  และพระมารดาซึ่งเป็นโอรสของพระยาตรัยตรึงศ์ ผู้ครองแคว้น อโยธยา  ประสูติเมื่อวันจันทร์ขึ้น แปดค่ำ เดือนห้า พ.ศ. ๑๘๕๗ ( ปลายรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี        ได้อภิเษกสมรสกับธิดาพระเจ้าอู่ทองผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิดังนั้นเมื่อพระบิดา พระอัยกา        และพระบิดาของพระชายาสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอู่ทองจึงได้มรดกไว้ทั้งสามแคว้น เมื่อย้ายเมือง     มาสร้าง ณ กรุงศรีอยุธยาจึงมีอาณาจักรใหญ่โตรองรับ

                ในแง่ของวิวัฒนาการการเมืองการปกครองอาจแบ่งได้เป็นสามยุคคือ ยุคต้น ตั้งแต่สมัย  พระเจ้าอู่ทองถึงพระเจ้าสามพระยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๙๑) ยุคกลางตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงพระศรีสุธรรมราชา ( พ.ศ.๑๙๙๑-๒๑๙๙) และยุคปลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงพระเจ้าเอกทัศน์(พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๓๑๐) ลักษณะการปกครองของสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยานั้นพระเจ้าอู่ทองทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงของการก่อร่างสร้างเมืองทำให้ต้องมีผู้นำในการปกครองเพื่อรวมรวมอาณาจักรให้แผ่ขยาย มีการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการค้าและศาสนา และในช่วงเวลานั้นมีการเผยแพร่ของลัทธิฮินดูและขอม เข้ามาตอนกลางของประเทศไทย ดังนั้นในสมัยนี้พระเจ้าอู่ทองทรงรับวัฒนธรรมการปกครองแบบขอม และอินดูเข้ามาใช้  เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุดในการปกครองตามลัทธิเทวสิทธิ์  โดยมีแนวคิด  คือ

๑.  พระเจ้าทรงเป็นผู้ตั้งรัฐ 

๒.  รัฐหรือดินแดนเกิดโดยพระเจ้าเพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดรัฐ

๓.  ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระเจ้าพระองค์เดียว

ในสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุคแรกๆ นั้น    จะมีความ

แตกต่างกับยุคหลังๆ กล่าวคือ ฐานะของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชา  คือ  พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ทรงเป็นเจ้าชีวิตคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือชีวิตของบุคคลที่อยู่ในสังคมทุกคน  และ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  คือ ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักรและพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานให้ใครก็ได้ตามอัธยาศัย ต่อมาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ได้รับแนวคิดทางการเมืองการปกครองจากเขมรมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แนวความคิดในเรื่องฐานะของพระมหากษัตริย์ก็เปลี่ยนไป  จากเดิมเป็นผู้นำรัฐเป็นพ่อปกครองลูก  แนวความคิดของขอมเชื่อว่าผู้นำหรือพระมหากษัตริย์เป็นเทวราชหรือเทวดาโดยสมมุติ  ดังนั้นคำสั่งของผู้ปกครองรัฐจึงเป็นพระราชโองการหรือเทวโองการ  ฐานะของประชาชนจึงเป็นผู้อยู่ภายใต้การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงปกครองอย่างแท้จริง  และรูปแบบการปกครองเช่นนี้ทำให้เกิดระบบศักดินาขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย  นับได้ว่าเกิดการปกครองแบบนายกับบ่าว  มีการแบ่งชั้นทางสังคมชัดเจน  และเกิดระบบทาสขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยด้วย  นอกจากนี้ประเทศไทยในสมัยอยุธยายังต้องทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลเมืองในการเข้าสังกัดมูลนายมีการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อป้องกันประเทศ  รูปแบบการปกครองจึงมีการเปลี่ยนแปลงจากสุโขทัยมาก



ลักษณะการปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีดังนี้  คือ 

๑.   พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองและทรงเป็นประมุขปกครองประเทศทรงมีอำนาจสูงสุด และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวพระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นองค์อธิปัตย์ทางการเมืองและเป็นองค์อธิปัตย์ในการปกครองประเทศและรัฐ เรียกว่าเป็นระบอบราชาธิปไตย

๒. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจสูงสุด  เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่พระราชอำนาจและความมั่นคงในฐานะผู้ปกครองไว้ แต่พระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาก็ถูกจำกัดไว้หลายประการ  เช่น

ทางด้านการเมือง  ในสมัยอยุธยาถือว่าบุคคลที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้ต้องเข้าพิธีปราบดาภิเษกก่อนและการเข้าพิธีปราบดาภิเษกถือว่าเป็นการขึ้นสู่ราชบัลลังก์โดยชอบธรรมดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงจำเป็นต้องมีกลุ่ม หรือคณะบุคคลสนับสนุน  และให้ประโยชน์ตอบแทนกับกลุ่มบุคคลเหล่านี้โดยให้ประโยชน์ตอบแทนเป็นยศถาบรรดาศักดิ์หรือให้ศักดินาเป็นต้นทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาพระราชอำนาจ

ทางด้านหลักปฏิบัติประเพณีโบราณ  พระมหากษัตริย์ไม่ได้มีพระราชอำนาจมากแต่ทรงอยู่ภายใต้หลักของการปกครองที่เป็นหลักปฏิบัติตามประเพณีโบราณ  เช่น  พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิบัติตามจักรวรรดิวัตร๑๒ ประการราชสังคหะวัตถุ๔ประการ  อีกด้วย

ทางด้านศีลธรรม พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนา   และทรงตั้งอยู่ใน

ธรรมเรียกว่าทศพิธราชธรรม ๑๐ประการ ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จะต้องทรงประพฤติให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม

๓.     พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นสมมุติเทพ ตามคตินิยมของพราหมณ์  จึงต้องมี

ระเบียบพิธีการต่างๆ  มากมายแม้แต่ภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ก็ได้บัญญัติขึ้นใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่เราเรียกว่าราชาศัพท์นั่นเอง

๔.     เกิดระบบทาสขึ้น ทาสหมายถึง   บุคคลที่ใช้แรงงาน  โดยทาสในสมัยกรุงศรีอยุธยา

อนุญาตให้เสนาบดี ข้าราชบริพารและประชาชนที่ร่ำรวยมีทาสได้และผู้ที่ใช้แรงงานเมื่อตกเป็น ทาสก็ถือว่านายเงินเป็นเจ้าของ  เจ้าของอาจซื้อ  ขาย  แลกเปลี่ยน  หรือยกทาสให้ผู้อื่นได้  ดังนั้นการเกิดชนชั้นทางสังคม จึงเกิดขึ้นในสมัยนี้ทำให้ประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองมีฐานะไม่เท่ากัน

การจัดระเบียบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา


ในสมัยพระเจ้าอู่ทองได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองส่วนกลางใหม่ เรียกว่า          การปกครองแบบจตุสดมภ์ เป็นแนวคิดทางการปกครองที่กรุงศรีอยุธยารับอิทธิพลมาจากขอม    โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจโดยเด็ดขาดในการปกครองมีเสนาบดี  ๔  คนเรียกว่า  “จตุสดมภ์” ทำหน้าที่ช่วยบริหารงานส่วนกลางประกอบด้วย

๑.   ขุนเวียงหรือขุนเมือง เป็นพนักงานปกครองท้องที่และบังคับบัญชาศาล  พิจารณาคดีความที่สำคัญๆ เรียกว่าแผนกว่าความนครบาล  ตลอดจนมีหน้าที่ปกครองเรือนจำ

๒. ขุนวัง  ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเทียรและพระราชวังชั้นนอกชั้นใน  มีอำนาจตั้งศาลชำระความ  และมีหน้าที่พิจารณาตัดสินอรรถคดีทั้งหลาย

๓.  ขุนคลัง  ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน  และบังคับบัญชาศาล  ชำระคดีความเกี่ยวกับพระราชทรัพย์หลวงทั้งปวง

๔.  ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าที่นาจากราษฎรเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนา        ทั้งปวง  ไม่ให้เสียเวลาทำนา  จัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนครและพระราชวังและมีอำนาจบังคับบัญชาศาลที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องในเรื่องนา  โค  กระบือ  และระงับข้อพิพาทของชาวนา

การปกครองอาณาเขตพระเจ้าอู่ทองทรงถือเอาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง มีเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันราชธานีทั้ง  ๔  ทิศ  และมีเมืองใหญ่ๆนอกวงราชธานีไกลออกไป   คือ เมืองพระยามหานคร  และเมืองประเทศราชตามลำดับ

                การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา

                การปกครองของไทยในสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยทรงโปรดให้มีการจัดระเบียบการปกครองใหม่  โดยยึดหลักการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และทรงแยกอำนาจของทหารออกจากอำนาจของพลเรือนออกจากกันอย่างเด็ดขาด คือ

๑.   ฝ่ายทหาร ให้ทหารมีพระสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้ามีหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมราชการฝ่ายทหารทั่วราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  โดยตำแหน่งพระสมุหกลาโหมมีราชทินนามเป็น  “เจ้าพระยามหาเสนาบดี”

๒.  ฝ่ายพลเรือน  ให้มีพระสมุหนายกเป็นหัวหน้า มีหน้าที่บังคับบัญชาฝ่ายพลเรือน         ทั่วราชอาณาจักร ตำแหน่งพระสมุหนายกมีราชทินนามเป็น “เจ้าพระยาจักรี”  และให้มีเสนาบดีจตุสดมภ์ ๔ ตำแหน่งทำหน้าที่ช่วยดูแลการบริหารกิจการส่วนกลางและได้เปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ใหม่คือขุนเวียงหรือขุนเมืองเรียกว่า “นครบาล” ขุนวัง เรียกว่า  “ธรรมาธิกรณ์”  ขุนคลังเรียกว่า  “โกษาธิบดี และขุนนา เรียกว่า  เกษตราธิการ ส่วนอำนาจหน้าที่ของจตุสดมภ์ก็คงเป็นไปในทำนองเดียวกันกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ในยุคก่อนๆ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนย่อยของเมืองออกไปอีก มีการแบ่งเขตการปกครองท้องที่ภายในเมืองหนึ่งๆ เหมือนกันหมดทั้งเมืองภายในวงราชธานีและเมืองพระยามหานคร โดยจัดแบ่งการปกครองท้องที่ดังนี้

๑.      เมือง  หรือจังหวัดในปัจจุบัน  แต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแขวง

๒.     แขวง  หรือเขต  หรืออำเภอในปัจจุบัน  แต่ละแขวงจะแบ่งออกเป็นเขตการปกครอง

เป็นตำบล

๓.     ตำบล  โดยตำบลหนึ่งๆจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นบ้าน

๔.     บ้าน  ได้แก่หมู่บ้านในปัจจุบัน

การปกครองเมืองประเทศราชให้ผู้ปกครองของเมืองนั้นๆดำเนินการปกครองประเทศกันเอง แต่จะต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารไปช่วยราชการสงครามเมื่อราชธานีแจ้งไปและต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตามที่กำหนดเวลาด้วย

               
ความแตกต่างระหว่างการปกครองสมัยอาณาจักกรุงสุโขทัยและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา   การปกครองของไทยในสมัยอาณาจักรกรุงสุโขทัยและอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีลักษณะดังนี้

๑.       การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นไปในลักษณะของคนกลุ่มน้อย คณะมี

อำนาจสูงสุดในการปกครองมีชนชั้นผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง  ประชาชนมีหน้าที่เชื่อฟังคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งและกฎเกณฑ์ของผู้ปกครองซึ่งมีอำนาจในเวลานั้น  สำหรับอาณาจักร  กรุงสุโขทัย แม้ว่าการปกครองจะอยู่ที่พ่อขุนแต่พ่อขุนก็ให้โอกาสประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตามควร  ใครมีทุกข์ก็สั่น กระดิ่ง ร้องฎีกาได้

๒.  การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา   ให้ทหารเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง  มากขึ้น เนื่องจากมีการแย่งชิงราชสมบัติกันหลายครั้งต่อหลายครั้งจึงทำให้ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์  ต้องให้ความสำคัญกับทหาร  และเหล่าเสนาบดีที่จะช่วยรักษาพระราชอำนาจ

๓.   เกิดระบบการรวมอำนาจที่ศูนย์กลางหรือที่ราชธานีขึ้น  และเกิดความชัดเจนในการปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากขึ้น

๔.   ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนแตกต่างกันมาก จากลักษณะที่ใกล้ชิดกันในสมัยกรุงสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยการปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ความสัมพันธ์เริ่มห่างเหินเนื่องฐานะของผู้ปกครองเปลี่ยนไปจากเดิม และยังเป็นผลให้เชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร    ตั้งตนไปเป็นอีกชนชั้นหนึ่งที่อยู่เหนือประชาชนทั่วๆ ไป  การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยคำสั่งเป็นกฎหมาย  ประชาชนไม่มีสิทธิทางการเมืองการปกครองแต่อย่างไร

๕.   การปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ยังผลให้เกิดระบบศักดินาขึ้นและมีการให้ยศถาบรรดาศักดิ์ แก่ผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทางราชการ  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม

๖.    เกิดระบบทาสขึ้นในสมัยการปกครองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งไม่ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัย  นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย

       สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

( พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕)   ดังจะอธิบายแยกเป็นสมัย  ดังนี้คือ 

ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี


เนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้เสียกรุงให้กับพม่าครั้งที่  ๒  ในปี  พ.ศ.  ๒๓๑๐   ประเทศชาติแตกแยกกันเป็นก๊ก  เป็นเหล่ายังรวมกันไม่ติด  และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำนุบำรุงให้คงสภาพเดิมได้อีกทั้งข้าศึกศัตรูก็รู้ลู่ทางดีและเมื่อถึงคราวน้ำหลาก ปัญหาต่างๆ ก็ตามมามาก  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีและตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ท่านทรงต้องทำศึกสงครามเพื่อรวบรวมประเทศไทยให้เป็นฝึก แผ่นและทำการกอบกู้เอกราชมาโดยตลอด  ดังนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕  ปี พระองค์จึงไม่ได้ทรงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแต่อย่างไร ดังนั้นในสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีนั้น เราอาจกล่าวได้ว่ายังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่  นั่นคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทั้งหมดเพียงพระองค์เดียว ได้แก่ การใช้อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ  หรืออาจกล่าวง่ายๆ คือ  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียวเพื่อทรงรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นให้คงความเป็นไทยอยู่จนทุกวันนี้

                ลักษณะการปกครองสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

                ในสมัยอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น  ประเทศไทยใช้รูปแบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเช่นกัน เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเร่งในการก่อร่างสร้างเมือง  ปราบปรามข้าศึกศัตรูโดยเฉพาะพม่า  ทำให้ในเรื่องการปกครองไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แต่พอเข้าในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓  เรื่อยมา ก็เกิดลัทธิล่าอาณานิคมขึ้น  มีต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายกับประเทศไทยมากขึ้นและประกอบกับประเทศไทยมีลักษณะเป็น รัฐกันชน (Buffer State) ทำให้เป็นที่สนใจของมหาอำนาจ ดังนั้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ เพื่อให้การปกครองทันกับชาวต่างชาติและอารยะประเทศ

         
            ลักษณะการปกครองสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่  ๕) 

            สภาพการเมืองเมื่อต้นรัชกาล พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๖  พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จครองราชย์ใหม่ๆ ยังคงถูกจำกัดด้วยอำนาจของขุนนางเก่า เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ การเมืองสมัยนั้นมีลักษณะแฝงของการต่อสู้เพื่อรวมอำนาจคืนมาไว้ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างคนรุ่นใหม่และกลุ่มขุนนางเก่าเด่นชัดมากขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ จนถึงปี   พ.ศ. ๒๔๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรม ในยุคนั้นผู้นำของสยามแบ่งเป็น ๓ กลุ่มคือ กลุ่มสยามหนุ่ม (Young Siam)  รัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นผู้นำและประกอบด้วย  พระเจ้าน้องยาเธอและขุนนางหนุ่มๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกต้องการปฏิรูปสังคมให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศ พวกอนุรักษ์นิยม (Conservative Siam ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยขุนนางผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงหรือรวดเร็วต้องการรักษาสภาพเดิมของประเพณีไว้ จะเปลี่ยนเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ กลุ่มสยามเก่า(Old Siam)กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็นผู้นำเป็นพวกหัวโบราณประกอบ ด้วยขุนนางระดับต่างๆ ที่เกรงกลัวการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกระทบฐานะและตำแหน่ง จึงไม่สนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับฝ่ายใดต้องการอยู่ตามลำพัง ต่อต้านอารยธรรมตะวันตกมากกว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมเมื่อรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาทรงบรรลุนิติภาวะทรงเริ่มใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้เต็มที่ ปีพ.ศ. ๒๔๑๗ กลุ่มสยามหนุ่มเริ่มดำเนินการปฏิรูปการปกครองและพยายามขจัดอิทธิพลขุนนางรุ่นเก่าอาทิ การก่อตั้งหอรัฎากรพิพัฒน์ เป็นก้าวแรกของการปฏิรูปการคลังของรัฐบาล การตรากฎหมาย ๒ ฉบับคือ พระราชบัญญัติเคาน์ซิล ออฟสเตท (ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน) พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล           (ที่ปรึกษาในพระองค์)เป็นความพยายามสร้างสถาบันทางการเมืองขึ้น เพื่อสนับสนุนการต่อสู้      เพื่อพระราชอำนาจของรัชกาลที่ ๕ ในปีพ.ศ. ๒๔๒๗ (ร.ศ.๑๐๓)มีการเคลื่อนไหวให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มราชวงศ์และขุนนางที่เป็นคณะทูตไทยไปยุโรปหรือที่เรียกว่า กลุ่ม ร.ศ.๑๐๓ที่ได้เข้าชื่อถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดินต่อรัชกาลที่ ๕ กลุ่มร.ศ.๑๐๓ มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นถึงภัยอันตรายที่จะมาถึงสยาม เป็นภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรปที่แพร่หลายในเอเชีย ฉะนั้นการจะรักษาบ้านเมืองให้พ้นภัยได้ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองให้คล้ายคลึงกับระบบการปกครองประเทศที่เจริญแล้ว เหตุที่เป็นข้ออ้างของลัทธิจักรวรรดินิยมมี ๔ ประการดังนี้คือ ข้อหนึ่งคืออ้างว่าชาติศิวิไลซ์หรือยุโรปต้องเข้ามาจัดการบ้านเมืองประเทศที่ด้อยความเจริญโดยอ้างว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้มีความกรุณา (ยุโรป) จะมีต่อมนุษยชาติ (ในเอเชีย)ให้มีความสุขความเจริญและได้รับความยุติธรรมเสมอกัน  ข้อสองอ้างว่าประเทศด้อยพัฒนายังมีประสบการณ์แบบเก่าๆ นอกจากจะกีดขวางทางเจริญของประเทศตนเองแล้วยังไปขัดขวางความเจริญของประเทศชาติที่เจริญแล้ว ข้อสามการที่รัฐบาลของประเทศเหล่านี้จัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อยย่อมมีผลกระทบ กระเทือนถึงผลประโยชน์ชาวยุโรปที่ทำการค้าขาย ในประเทศเหล่านั้นจึงเป็นเหตุผลให้ชาติยุโรปจะเข้ามาทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ข้อสี่การที่ประเทศในเอเชีย ไม่ยอมเปิดการค้าขายกับชาติต่างๆ ในยุโรปเป็นการหน่วงเหนี่ยวความเจริญของชาวยุโรปที่ไม่อาจเข้ามาทำการค้าขายในประเทศ และไม่สามารถจะนำเอาวัตถุดิบในประเทศด้อยพัฒนาไปป้อนอุตสาหกรรมในประเทศยุโรปได้ กลุ่มร.ศ. ๑๐๓ เห็นว่าแนวทางป้องกันการขยายอิทธิพลของจักรวรรดินิยมจำเป็นต้องให้ประเทศปกครองแบบ Constitution monarchy คือให้รัชกาลที่ ๕      เป็นประธานของรัฐบาลแต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่กลุ่มร.ศ. ๑๐๓ ไม่ได้ประสงค์ให้มีรัฐสภา(Parliament )หรือไม่ประสงค์ให้ประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป แต่ต้องการให้รัชกาลที่ ๕ ขยายขอบเขตของศูนย์อำนาจจากที่มีอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่บางพระองค์ให้กว้างขวางกว่าเดิมคือ ให้มอบและกระจายอำนาจการตัดสินใจทางการปกครองและบริหารประเทศให้มากกว่าเดิม รัชกาลที่ ๕ มีความเห็นโต้แย้งกลุ่มร.ศ.๑๐๓ว่าพระองค์ไม่ใช่กษัตริย์ที่หวงอำนาจเหมือนกษัตริย์ในยุโรปช่วงแรกของการครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๖) อำนาจทางการเมืองอยู่ที่ขุนนางและเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่เมื่อทรงพระชนมายุ ๒๐ พรรษา พระองค์ทรงมีอำนาจปกครองเต็มที่หลังจากนั้น ๑๐ ปี (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๒๕) ทรงพยายามสร้างฐานอำนาจทางการเมืองแต่ข้อเสนอของกลุ่มร.ศ.๑๐๓ ส่งถึงพระองค์ในปีพ.ศ.๒๔๒๗ พระองค์เพิ่งตั้งหลักทางการเมืองได้และอยู่ในระยะเริ่มดำเนินการขั้นต่อไปคือการเร่งรัดปรับปรุงงานบ้านเมือง ลดอำนาจกลุ่มเสนาบดีดั้งเดิมที่เป็นคนรุ่นเก่าที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่าปัญหาสำคัญและเร่งด่วนของสยามคือการปฏิรูปการบริหารประเทศ ข้อเสนอของกลุ่มร.ศ. ๑๐๓     มีส่วนในการเร่งให้รัชกาลที่ ๕ ทรงปรับปรุงการบริหารให้รวดเร็วขึ้นดังเช่น การส่งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการไปงานฉลองรัชกาลสมเด็จพระบรมราชินีวิกตอเรียครบ ๕๐ ปี ณ ประเทศอังกฤษ    เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๐ และให้ไปพิจารณาแบบการปกครองของชาติต่างๆในยุโรปด้วยและได้เริ่มการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. ๒๔๓๐ จนดำเนินการเต็มรูปในปีพ.ศ.๒๔๓๕[5]

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่สนใจจะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองตามแนวตะวันตก จะเห็นได้จากทรงทรงพระราชโอรสและเชื้อพระวงศ์จำนวนหลายคนเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับ         การปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย อีกทั้งในระบบการเมืองการปกครองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงปรับปรุงให้มีการจัดการปกครองโดยแบ่งเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  และมีการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นเป็นครั้งแรก สำหรับการพัฒนาข้าราชการให้มีความรู้เรื่องการปฏิรูปการเมืองการปกครองก็ดำเนินการมามิได้ขาดอีกทั้งยังเห็นความสำคัญของเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาก เช่น ทรงส่งกรมหมื่น    เทวะวงศ์วโรปการ ไปงานฉลองรัชกาลสมเด็จพระบรมราชินีวิกตอเรียครบ ๕๐ ปี ณ ประเทศอังกฤษเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๐ และให้ไปพิจารณาแบบการปกครองของชาติต่างๆในยุโรปด้วยและได้เริ่มการปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ.๒๔๓๐ ดังรูปที่ ๑








ในช่วงการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นประเทศไทยยังคงใช้ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พอมาถึงสมัยรัชกาลที่  ๕  ประเทศไทยเริ่มติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น และเริ่มมีปัญหากดดันทางการเมืองมากมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความสำคัญของการปกครอง และมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้ทันกับประเทศที่เข้ามาล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชีย  โดยทำการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน เริ่มเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕    หรือ   ร.ศ. ๑๑๑ ใหม่ดังนี้คือ

๑.  การปกครองส่วนกลางได้ทรงแบ่งแยกหน้าที่การปกครองส่วนกลางออกเป็น ๑๒กระทรวงโดยให้กระทรวงมีอำนาจบริหารงานและให้อำนาจกับกระทรวง  กรม  กอง  เป็นผู้ดูแลมีการนำระบบบริหารราชการแบบแบ่งแยกโครงสร้างอำนาจหน้าที่ (Structural-Functionalism) มาใช้ด้วยการทบทวนหน้าที่หลักของกรมจตุสดมภ์  การบริหารราชการส่วนกลางมี ๑๒ กระทรวง คือ

๑.๑  กระทรวงมหาดไทยการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราชต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดให้อยู่ในความดูแลของกระทรวง มหาดไทย

๑.๒ กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตก ตะวันออกและเมืองมาลายูประเทศราชเมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้ว กระทรวงกลาโหมจึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต

๑.๓  กระทรวงการต่างประเทศ(กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ

๑.๔  กระทรวงวัง  ว่าการในวัง

๑.๕  กระทรวงเมือง (นครบาล)   ว่าการโปลิศและการบัญชีคนคือกรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ

๑.๖  กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่

๑.๗  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลเรื่องการเงิน รายได้รายจ่ายของแผ่นดิน

๑.๘  กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งกระจายอยู่ตามกรมต่างๆนำมาไว้ที่แห่งเดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน

๑.๙  กระทรวงยุทธนาการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ

๑.๑๐ กระทรวงธรรมการ จัดการศึกษา การรักษาพยาบาลและอุปถัมภ์คณะสงฆ์

๑.๑๑ กระทรวงโยธาธิการมีหน้าที่ก่อสร้างทำถนนขุดคลอง ไปรษณีย์ โทรเลข การรถไฟ

๑.๑๒ กระทรวงมุรธาธรมีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมาย(กระทรวงมุรธาธรยุบในปีพ.ศ.๒๔๓๙โอนราชการในหน้าที่ขึ้นอยู่ในกรมราชเลขานุการ)

การจัดการบริหารส่วนกลางเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน และเป็นเพียง

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารมากกว่าการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ และกิจกรรมที่ระบบบริหารทำอยู่ การปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเป็นการปกครองที่เน้นให้รัฐมีบทบาทหลักในการรักษาความปลอดภัย มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางและการมุ่งหารายได้ด้วยการเก็บภาษีเข้าท้องพระคลังมากกว่าที่จะขยายขอบเขตงานของรัฐออกไปสู่กิจกรรมประเภทอื่นๆ ข้อสังเกต คือ      ดูจากงบประมาณที่แต่ละกระทรวงได้รับ ในช่วงนั้นพบว่ากิจกรรมหลักของประเทศมีความสำคัญตามลำดับคือ ป้องกันประเทศ การรักษาความสงบภายใน กิจกรรมส่วนพระองค์ขณะที่งบประมาณกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงเกษตรอยู่ในระดับต่ำสุดการลงทุนของประเทศในช่วงรัชกาลที่ ๕ เป็นการลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม เช่น ทางรถไฟ เพื่อตอบสนองนโยบายหลักในการรวมอำนาจมาไว้ที่ศูนย์กลาง มีการควบคุมหัวเมืองภายนอกให้กระชับเพื่อประโยชน์ทางการเมืองในการเก็บภาษีเข้ารัฐ[6]        การจัดการบริหารส่วนกลางมีการจัดตั้งเสนนาบดีประจำกระทรวงต่างๆทั้ง ๑๒ กระทรวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่บริหารราชการส่วนกลางแต่พระราชอำนาจสูงสุดยังคงอยู่ที่พระมหากษัตริย์ เสนนาบดีประจำกระทรวงต่างๆ ทั้ง ๑๒ กระทรวงมีหน้าที่ถวายความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาโดยมี     คณะเสนาบดีที่ทำหน้าทีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.  การปกครองส่วนภูมิภาค ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองให้เป็นหน่วยการปกครองใหม่เรียกว่า “มณฑล”   การแบ่งส่วนความรับผิดชอบ  โดยแบ่งเป็นมณฑลเทศาภิบาล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น  และเริ่มทดลองการกระจายอำนาจเป็น       ครั้งแรก  ให้กับหน่วยการปกครองสุขาภิบาล

                ในปีพ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๘ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยมีการสถาปนาการปกครองระบบเทศาภิบาลและการปกครองตำบล หมู่บ้าน เพื่อขยายบทบาทของส่วนกลางในการควบคุมกลไกการปกครองประเทศ    มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) เป็นการกำหนดบทบาทในการปกครองของนายอำเภอที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ไปปกครอง เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยเห็นว่า “การปกครองท้องที่” เป็นหัวใจสำคัญต่อการปกครองในระบบเทศาภิบาล นายอำเภอ ถือว่าเป็นตัวแทนระหว่างข้าราชการของรัฐบาลกลางระดับจังหวัด และมณฑล กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ประชาชนเลือกขึ้นมาในระดับตำบล  หมู่บ้าน นายอำเภอเป็นผู้ที่ต้องพยายามทำให้คำสั่งต่างๆ จากสมุหเทศาภิบาลและผู้ว่าราชการเมือง(จังหวัด)เป็นผลในการปกครองตำบล หมู่บ้าน นอกจากนี้กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ยังเพิ่มบทบาทหน้าที่ในการปกครองตำบล หมู่บ้านของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภายใต้การควบคุมดูแลของนายอำเภอและผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอจะได้รับคำสั่งออกไปดูแลตำบล หมู่บ้านทำรายงานส่งผู้ว่าราชการเมืองเดือนละครั้ง นายอำเภอจะรับผิดชอบรักษาความสงบให้การปรึกษาดูแลทั้งหมดแก่กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่เรื่องการจดทะเบียนปศุสัตว์ การเก็บรักษาหนังสือสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้านใหม่สามารถให้อำนาจของรัฐเข้าไปดูแลอย่างเข้มงวดมากขึ้น                 รัชกาลที่ ๕ ทรงมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง(การปกครองส่วนภูมิภาค)เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรสยามโดยมีพระราชประสงค์จะให้ยุบเมืองประเทศราชแล้วรวมเข้าเป็นหัวเมืองใน      พระราชอาณาจักรการดำเนินงานปฏิรูปนอกจากการจัดระบบการปกครองจากล่างสุดเป็น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง(จังหวัด)แล้วยังจัดระบบการปกครอง มณฑลเทศาภิบาลเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการติดต่อระหว่างรัฐบาลในกรุงเทพกับหัวเมืองนอกราชธานีและมณฑลจะมีข้าหลวงเทศาภิบาล (สมุหเทศาภิบาล) เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดนอกจากนั้นยังประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายต่างๆ เช่น ข้าหลวงมหาดไทย ข้าหลวงยุติธรรม ข้าหลวงคลัง แพทย์ประจำมณฑล  ดังแสดง    ในแผนที่มณฑล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับการปกครอง        ส่วนภูมิภาคโดยมีหน่วยการปกครองใหม่เรียกว่า “มณฑล”

                อาจกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญอย่างจริงจังในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังจะเห็นได้จากการทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองในหัวเมืองให้เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค โดยมีการกำหนดพื้นที่การปกครองส่วนภูมิภาคโดยมีหน่วยการปกครองใหม่เรียกว่า “มณฑล” ดังแสดงในรูปที่ ๒







                          
                ระบบเทศาภิบาลเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค ที่มีการตั้งสาขาของกระทรวงใหญ่            ในกรุงเทพฯ รับหน้าที่ดูแลกิจการของตนในส่วนภูมิภาค การจัดระเบียบการปกครองหัวเมือง       คือ ท้องที่หลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งหัวเมืองแต่ละหัวเมืองมีพนักงานผู้ปกครองเมือง คือ

                ๑.  ผู้ว่าราชการเมือง คือเจ้าเมืองเป็นตำแหน่งข้าราชการชั้นพระยา หรือพระที่แต่งตั้ง      ตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ทรงพระดำริเห็นสมควร ผู้ว่าราชการเมืองมีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบทุกอย่างในเมืองยกเว้นการพิพากษาคดี เป็นผู้ตรวจตราให้ข้าราชการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามพระราชกำหนด กฎหมายและคำสั่งของเจ้ากระทรวงรายงานข้อราชการในการทำนุบำรุงหรือแก้ไขข้อขัดข้องในการปกครองเมืองต่อข้าหลวงเทศาภิบาล อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ดูแล  ทุกข์สุขของประชาชนต่างพระเนตรพระกรรณ

                ๒.  กรมเมือง  มี ๒ ตำแหน่งคือ กรมการในทำเนียบอันเป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนได้แก่ ปลัดยกบัตร ผู้ช่วยราชการ ซึ่งจัดเป็นกรรมการผู้ใหญ่ ๓ ตำแหน่ง คือ จ่าเมือง (เลขานุการของเมือง) สัสดีแพ่ง (รักษากฎหมาย) ศุภมาตรา (เก็บภาษีอากร)  และกรมการนอกทำเนียบ เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือเป็นคหบดีในเมือง ซึ่งเป็นกรรมการผู้ใหญ่

                การปฏิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการปรับหน่วยการปกครองที่มีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (Field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ (Field office) ของกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐบาลในส่วนกลาง ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองแบบเมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราชเดิมเพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนเป็นแบบราชอาณาจักร (Kingdom)โดยการจัดระเบียบการปกครองให้มีลักษณะที่ลดหลั่นตามระดับการบังคับบัญชาจากหน่วยเหนือลงไปถึงหน่วยงานชั้นรองตามลำดับคือ การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล การจัดรูปการปกครองเมือง  การจัดรูปการปกครองอำเภอ การจัดรูปการปกครองตำบล หมู่บ้าน[7]        การจัดการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงรัชกาลที่ ๕ มีแนวคิดในการปูพื้นฐานการเมืองในเวลาต่อมาดังนี้คือ

๑.   พระมหากษัตริย์  ในสมัยนี้ทรงใช้หลักการปกครองผสมผสานระหว่างการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรกับการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือใช้หลักเทวราช  ซึ่งทำให้ผู้ปกครองกับผู้อยู่ภายใต้การปกครองใกล้ชิดกัน  และมีการสร้างความมั่นคงของชาติ

๒. ศูนย์กลางแห่งอำนาจอยู่ที่เมืองหลวงเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครองทำให้เข้าหลักเกณฑ์การเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ให้ผู้ปกครองหัวเมืองมีอำนาจมากเกิน มิฉะนั้นจะมีปัญหาในการปกครอง

๓.  มีการปรับปรุงการบริหารส่วนกลางโดยใช้กระทรวงกรม  นับเป็นการยอมรับแนวคิดในการบริหารของตะวันตกมาใช้เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดการพัฒนาการปกครองและทำให้การปกครองมั่นคงยิ่งขึ้น

๔.  มีการปรับปรุงการบริหารส่วนภูมิภาคเพื่อให้เกิดเอกภาพ สมารถสร้างความเข้มแข็งให้ส่วนกลางเพราะภูมิภาคยังต้องดำเนินการปกครองตามส่วนกลาง แต่ให้คนไปปกครองในรูป อำเภอ  ตำบล  มณฑล  ทำให้ข้าราชการเข้าใจและรู้ปัญหาที่แท้จริงของประชาชน  และสามารถหาทางช่วยเหลือปัญหาในบางเรื่องได้ทันท้วงที

๕.  จัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลขึ้น   การปกครองรูปแบบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้น เท่ากับเป็นการปูพื้นความรู้พื้นฐานทางด้านการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง

                กล่าวโดยสรุปเรื่องการปกครองในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีการติดต่อกับฝรั่ง   เพราะศึกระหว่างไทยกับพม่าได้ลดน้อยลงไป ดังนั้นในสมัยรัชการพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีการติดต่อกับอังกฤษและมีการติดต่อมากขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านการทหารก็มีการฝึกทหารแบบยุโรปด้วยการว่าจ้าง ร้อยเอกอิมเปย์และนายทหารอังกฤษอีกหลายคนมาฝึกในด้านพลเรือนมีการปรับปรุงศาลและระบบกฎหมายการต่างประเทศ การคมนาคม เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าข้าราชการได้มีโอกาส ได้รับการพัฒนามากกว่าประชาชนทั่วไป  ถ้าประชาชนคนใดต้องการที่จะได้รับการพัฒนาก็จะต้องเข้ามารับราชการและศึกษา พอมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองในปีพ.ศ. ๒๔๓๕ ที่มีการตั้งกระทรวง จัดการปกครองระบบเทศาภิบาล ถือเป็นจุดกำเนิดของการปกครองและบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามแนวคิดตะวันตก ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้บทบาททางทหารมากขึ้น  โดยการส่งทหารไปรบในประเทศยุโรปด้วยการเข้าร่วมกับพันธมิตร  เมื่อกองทัพพันธมิตรได้รับ   ชัยชนะ ประเทศไทยก็สามารถแก้ไขสนธิสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับต่างชาติได้  ทำให้ทหารไทยได้รับการยกย่องว่าได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ดี  ในสมัยพระบาทสมเด็จ     พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปลดข้าราชการให้มีจำนวนน้อยลงเพื่อการประหยัด ทำให้ข้าราชการโดยเฉพาะทหารไม่พอใจ  ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาภายหลัง  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้วิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้นอีก         เพราะสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลดข้าราชการออกมากขึ้นรวมบรรดานายทหารชั้นนำก็ถูกลดขั้นเงินเดือนด้วย  เช่น  พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นต้น เหตุนี้จึงกลายเป็นมูลเหตุสำคัญประการหนึ่ง  ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เมื่อ  วันที่  ๒๔  มิถุนายน  ๒๔๗๕



สรุป
ความรู้พื้นฐานทางการเมืองการปกครองของไทย

 


 ๑.  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมืองปกครอง


               ความหมายของการเมือง


                การเมือง หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคม  ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือขัดแย้งกันมีความคิดเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันร่วมมือกันหรือต่อสู้กัน  เพื่อสรรหาบุคคลไปทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนเขาและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะทำให้พวกเขาสามารถตัดสินใจในเรื่องส่วนรวมได้โดยชอบธรรมการเมืองจึงเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อที่จะกำหนดแนวทาง ข้อบังคับ หรือนโยบายให้คนในสังคมปฏิบัติตามและอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

               ธรรมชาติของการเมือง 

                ลักษณะธรรมชาติของการเมืองเป็นทฤษฎีและหลักการที่มุ่งหวังให้คนในสังคมมีสวัสดิภาพโดยทั่วถึง  เราทุกคนต้องยอมรับว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีภาษาพูดใช้ในการสื่อสาร โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ยังเป็นสัตว์การเมือง มนุษย์จึงต้องการการปกครองต้องการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  แต่ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความแตกต่างกัน  ทั้งในด้านฐานะ  อาชีพ  การศึกษา

               วัฒนธรรมทางการเมือง


                วัฒนธรรมทางการเมือง   หมายถึง  แบบแผนหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถือปฏิบัติติดต่อกันโดยมี     ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความคิด  และความเชื่อ  ความสำนึกในทางการเมืองที่สมาชิกของสังคมหนึ่งๆ  มีต่อระบบการเมืองการปกครองของสังคมของเขาว่า  มีรูปแบบการปกครองแบบใด  สถาบันที่หล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองได้แก่             สถาบันครอบครัว สถาบันทางการศึกษา กลุ่มเพื่อนและกลุ่มอาชีพ

                วัฒนธรรมทางการเมืองที่สำคัญของไทย

๑.      อำนาจนิยม

๒.     ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ

๓.     มีการจัดลำดับฐานะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำให้มีการแบ่งชั้นวรรณะทาง

สังคม

๔.  ความเป็นอิสระนิยม  คนไทยรักอิสระ  ชอบทำอะไรโดยลำพังตน

๕.  การยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม

๖.       ความเฉื่อยชา

๗.      ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  มองโลกในแง่ร้าย และขาดความไว้วางใจคนอื่น

๘.      การเป็นคนรักสงบและการประนีประนอม  ไม่นิยมความรุนแรง  

              จริยธรรมทางการเมืองการปกครอง


   ความหมายของจริยธรรมทางการเมืองการปกครอง คือ  การยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม  ทำ

หน้าที่ของตนตามความเหมาะสม การปกครองที่ดีก็คือ  การปกครองที่ก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม จริยธรรมในการปกครองของไทย 

                ๑.  ทศพิธราชธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับพระองค์เอง  สำหรับหารใช้อำนาจหน้าที่  และการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ต่อประเทศชาติ

                ๒.  จักรวรรดิวัตร  เป็นหลักธรรมในการดำเนินกุศโลบายและวิเทโศบายทางการปกครอง

๓.  ราชสังคมวัตถุ  เป็นหลักธรรมในการกำหนดนโยบายการบริหาร

              ความสำคัญของการศึกษาวิชาการเมืองการปกครองของไทย 

๑.      เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิวัฒนาการการปกครองของไทย

๒.    เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๓.    เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจโครงสร้างการบริหารงานของชาติ

๔.    เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจปัญหาสำคัญทางการเมืองและรู้จักวิเคราะห์ปัญหาการเมืองการปกครอง

๕.    เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

๒.  วิวัฒนาการการปกครองของไทย


                ประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์   ใน  ๔  สมัยดังนี้คือ

                สมัยอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๐๐-๑๙๒๑) ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็น  ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองและทรงใช้อำนาจนี้ในการออกกฎหมายเรียกว่าอำนาจนิติบัญญัติ ทรงบริหารกิจการบ้านเมืองเรียกอำนาจนี้ว่า อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และ ทรงพิจารณาอรรถคดีและตัดสินคดีความต่างๆ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเด่นที่สำคัญๆ  คือพ่อขุนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย พ่อขุนอยู่ในฐานะผู้ปกครองและประมุขของประเทศที่มีอำนาจสูงสุด 

สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) ลักษณะการปกครองของสมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาใช้การปกครองแบบขอม และอินดูเข้ามาใช้  เรียกการปกครองแบบนี้ ว่าการปกครองแบบเทวสิทธิ์ คือ พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ  รัฐหรือดินแดนเกิดโดยพระเจ้าเพราะฉะนั้นพระเจ้าทรงเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดรัฐและ ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระเจ้าพระองค์เดียว ดังนั้น ผู้ปกครองหรือพระมหากษัตริย์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงพระองค์เดียวทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมาย   ทรงใช้อำนาจบริหารในการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินและทรงใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาอรรถคดี

สมัยอาณาจักรกรุงธนบุรีและสมัยอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตอนต้น  (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕)   ดังจะอธิบายแยกเป็นสมัย  ดังนี้คือลักษณะการปกครองสมัยอาณากรุงธนบุรีเนื่องจากสมัยอาณาจักรกรุงธนบุรี  เป็นช่วงที่ประเทศไทยได้เสียกรุงให้กับพม่า  ครั้งที่  ๒ ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายมาตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรี  ในสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

                ลักษณะการปกครองสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัชกาลที่  ๕ 

                ในช่วงการปกครองของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นประเทศไทยยังคงใช้ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยทำการปฏิรูปการปกครองดังนี้คือ

๑.       การปกครองส่วนกลาง  ได้ทรงแบ่งหน้าที่ออกเป็น ๑๐  กระทรวง  โดยให้

กระทรวงมีอำนาจบริหารงานและให้อำนาจกับกระทรวง  กรม  กอง  เป็นผู้ดูแล

๒.    การปกครองส่วนภูมิภาค    ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองให้เป็นหน่วยการปกครองใหม่

เรียกว่า มณฑล  และแบ่งส่วนความรับผิดชอบ  โดยแบ่งเป็นมณฑลเทศาภิบาล  เมือง  อำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน  นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น  และเริ่มมีการกระจาย อำนาจเป็นครั้งแรกให้กับหน่วยการปกครองสุขาภิบาล



วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาเซียน








กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)


เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์

 


ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล






สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์





สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ



มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต





สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ


สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์



ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง

เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
- ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมาย

รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน

สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง

3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
- กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
- ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
- กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น